วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กีฬา บุคคลที่มีชื่อเสียง งานประเพณี

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด[แก้]


บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แคมป์
สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์-การไฟฟ้าฯ เป็นสโมสรใหม่ที่เปลี่ยนแปลงมาจากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 โดยดร.วีระ ปิตรชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีร่วมกันในหมู่คณะ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. โดยลงเล่น 3 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นในถ้วย ค. และลงเล่นอยู่2ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นถ้วย ข. และอีก 2 ฤดูกาลสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ
หลังจากลงเล่นในดิวิชั่น 1 อยู่นานสโมสรก็ได้เลื่อนขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อได้รองแชมป์ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2547 และได้เล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2548 โดยฤดูกาลแรกในลีกสูงสุดสโมสรสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมเมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ และศุภกิจ จินะใจกองหน้าของทีมก็คว้าตำแหน่งดาวซัลโวร่วมกับศรายุทธ ชัยคำดี กองหน้าของทีมการท่าเรือ ที่จำนวน 10 ประตู และยังได้เล่นเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2549 อีกด้วย
ฤดูกาล 2551 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของประพล พงษ์พาณิชย์และได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือก ในฤดูกาล 2552
ฤดูกาล 2552 สโมสรตกรอบคัดเลือกเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกทำให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มได้ และมีผลงานในลีกไม่ดีนัก สโมสรจึงได้เปลี่ยนตัวกุนซือในเดือนพฤษภาคม ปี 2552เป็นอดีตกุนซือทีมชาติไทยชุดแชมป์ซีเกมส์ ที่นครราชสีมาทองสุข สัมปหังสิต
ภายหลังฤดูกาล 2552 ซึ่งทีมมีผลงานจบในอันดับที่ 9 ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงชื่อทีม เป็น บุรีรัมย์-การไฟฟ้าฯ จากการเข้าครอบครองอำนาจบริหารสโมสรของ เนวิน ชิดชอบ นักการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมด พร้อมกันนั้นทีมผู้ฝึกสอนก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในบางส่วนด้วยเช่นกัน

สนามกีฬา[แก้]


สนามกีฬาแห่งเก่า เขากระโดง สเตเดี้ยม

ชาวบุรีรัมย์ที่มีชื่อเสียง[แก้]

พระภิกษุ/พระภิกษุที่ดำรงสมณศักดิ์[แก้]

เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
  • พระเทพปริยัติโมลี (สุทัศน์ วรทสฺสี ปธ.๙)
เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร รองเจ้าคณะภาค ๙
  • พระราชปัญญาวิสารัท (เหลือง ฉนฺทาคโม)
เจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธ)
  • พระราชปริยัติยาลังการ (วิชัย ฐิตาจาโร ปธ.๔)
ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ฝ่าย (มหานิกาย) และเจ้าอาวาสวัดบ้านบัว
  • พระราชปริยัติกวี (สุพจน์ โชติญาโณ ปธ.๕)
เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าอาวาสวัดกลางพระอารามหลวง จังหวัดบุรีรัมย์
  • พระโพธิธรรมาจารเถร วิ. (สุวัจน์ สุวโจ)
อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเขาน้อย (ธ.)
  • พระประสาธน์สารคุณ (อาจ อาวุธปญฺโญ)
เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธ) เจ้าอาวาสวัดทุ่งโพธิ์
  • พระศรีปริยัติธาดา (ทองสา ฐานิสฺสโร ปธ.๙)รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ย่อย
ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ข้าราชการประจำ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ[แก้]

นักฟุตบอล[แก้]

นักมวยสากล[แก้]

นักมวยสากลสมัครเล่น[แก้]

นักมวยไทย[แก้]

นักกีฬาจักรยาน[แก้]

นักยิงธนู[แก้]

นักกรีฑา[แก้]

นักแสดง[แก้]

นักพากย์[แก้]

นักดนตรี[แก้]

นักการเมือง[แก้]

  • สุรศักดิ์ นาคดี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​จังหวัดบุรีรัมย์
  • เนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​จังหวัดบุรีรัมย์หลายสมัย
  • ชัย ชิดชอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​แบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร​
  • การุณ ใสงาม อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดบุรีรัมย์
  • โสภณ ซารัมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • โสภณ เพชรสว่าง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​จังหวัดหลายสมัย, อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร​
  • ทรงศักดิ์ ทองศรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • อธิวัฒน์ บุญชาติ โฆษกพรรคความหวังใหม่ อดีตหัวหน้าพรรคประชาชาติไทย

นักวิชาการ[แก้]


งานประเพณี[แก้]

ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
ประเพณีแข่งเรือยาวที่อำเภอสตึก
งานดอกฝ้ายคำบาน
ช่วงเดือน ม.ค. - ก.พ. ของทุกปี บริเวณปราสาทเขาพนมรุ้ง
นมัสการพระเจ้าใหญ่วัดศีรษะแรด (วัดหงส์) 
วันขึ้น 14 ค่ำ ถึงวันแรก 1 ค่ำ เดือน 3 หรือตรงกับ วันมาฆบูชา ของทุกปี ที่วัดศีรษะแรด อ.พุทไธสง
นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ วันมาฆบูชา
งานประเพณีขึ้นเขากระโดง
ช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ณ วนอุทยานแห่งชาติเขากระโดง ตำบลเสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์
งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
เดือนเมษายน ของทุกปี (วันเพ็ญเดือนห้า) ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
งานเครื่องเคลือบพันปี
ช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ที่ อ.บ้านกรวด
ประเพณีแข่งเรือยาว
วันเสาร์-อาทิตย์แรก ของเดือน พ.ย. ที่ลำน้ำมูล ที่ที่ว่าการ อ.สตึก
มหกรรมว่าวอีสาน
ประมาณวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือน ธ.ค. บริเวณสนามกีฬา อ.ห้วยราช
มหกรรมมวยไทยเทศกาลกินไก่ไหว้เจ้าพ่อขุนศรี
ประมาณปลายเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี บริเวณสนามที่ว่าการอำเภอ อ.หนองกี่
งานวันหอมแดง แข่งเรือยาว ชาวหนองหงส์
ช่วงประมาณเดือน ธ.ค. ของทุกปี - มี.ค. ของปีถัดไป ที่หนองสระแก้ว อ.หนองหงส์
งานประเพณีบุญบั้งไฟ
ประมาณสิ้นเดือน พ.ค. - ต้นเดือน มิ.ย. ของทุกปี ที่บ้านหนองบัวลี-หนองบัวลอง ต.ไทยสามัคคี อ.หนองหงส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น