ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอนางรองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอชำนิและอำเภอเมืองบุรีรัมย์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอประโคนชัยและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอละหานทรายและอำเภอปะคำ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโนนสุวรรณและอำเภอหนองกี่
ประวัติศาสตร์[แก้]
สมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองนางรองหรือแคว้นพนมโรงเป็นที่อยู่ของชนชาติขอม ขอมได้ปกครองดินแดงส่วนนี้เป็นเวลานาน ได้พบซากเมืองโบราณที่แสดงว่าขอมมีอำนาจแถบนี้เป็นระยะ ๆ จากปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้ง โบราณวัตถุที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดคือ เทวรูปต่าง ๆ และหม้อน้ำดินเผาโบราณแบบขอม เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงแล้ว มอญก็เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบนี้ ทำให้เกิดชนชาติใหม่ขึ้นคือ ขอม มอญ เป็น เข-มอญ หรือเขมร ซึ่งก็คือขอมนั่นเองแต่มีเชื้อผสมระหว่างมอญกับขอม[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาเมื่อมอญเสื่อมอำนาจลง ไทยจึงได้แผ่อาณาเขตเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ต่อไป การแผ่อาณาเขตของไทยในดินแดนแถบนี้ จะเห็นได้ว่ามาจาก 2 ทางคือ ทางนครราชสีมาและทางหลวงพระบาง แต่ไม่มีหลักฐานว่ามาครั้งใด สันนิษฐานว่าไทยคงจะเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ในสมัยกรุงสุโขทัยหรือกรุงศรีอยุธยาตอนต้น หลักฐานพอจะอ้างอิงได้คือ พระพุทธรูปโบราณที่ขุดพบ ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี เมื่อไทยได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนนี้ จึงตั้งศูนย์กลางปกครองที่เมืองนางรอง มีเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันมาโดยตลอด สมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนแถบเมืองนางรอง เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองบุรีรัมย์ เมืองพุทไธสง ต่างก็มาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา โดยขึ้นกับข้าหลวงใหญ่ที่นครราชสีมา ซึ่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์โดยตั้งเมืองชั้นจัตวา เมืองนางรองเป็นหัวเมืองชั้นเอก
หลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 แล้ว คนไทยผู้มีอำนาจต่างก็ตั้งตนเป็นก๊กเป็นเหล่า ปกครองตนเองเพื่อจะกอบกู้เอกราช ครั้งแรกเจ้าเมืองนางรองได้เข้าร่วมกับก๊กกรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าเมืองพิมาย ต่อมาพระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทำการปราบก๊กต่าง ๆ จนสำเร็จ และได้ยกกองทัพมาปราบก๊กเจ้าเมืองพิมายจนได้รับชัยชนะ เจ้าเมืองนางรองเห็นว่าก๊กเจ้าเมืองพิมายพ่ายแพ้แล้ว จึงได้แยกตัวออกไปร่วมกับเจ้าเมืองจำปาศักดิ์
หลังจากพระเจ้าตากสินได้ปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ จนราบคาบแล้ว จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2332 เจ้าเมืองนางรองได้คบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอิน เจ้าเมืองจำปาศักดิ์แข็งเมืองไม่ขึ้นต่อกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาจักรีมาปราบ พระยานางรองถูกเจ้าเมืองนครราชสีมาจับตัวได้ และถูกประหารชีวิตที่ต้นโพธิ์หน้าสนามโรงเรียนนางรอง (สังขกฤษณ์อนุสรณ์) ในปัจจุบัน เมืองนางรองจึงได้ไปขึ้นต่อเมืองนครราชสีมา
เมื่อพระยานางรองถูกประหารชีวิตแล้ว ทางเมืองหลวงได้ตั้งนายปิ่นและนายมา บุตรพระยานางรองเป็นเจ้าเมืองนางรองปกครองต่อมาจนถึงพระวิเศษสงคราม (กฤษณ์ บุญญกฤษณ์) ลูกหลานของนายปิ่นได้เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมื่อพระวิเศษสงครามสิ้นอายุแล้วพระนางรองภักดี (สุดใจ บุญญกฤษณ์) ซึ่งเป็นบุตรได้เป็นเจ้าเมืองแทน ต่อมาพระนางรองภักดีถูกจับในข้อหาฆ่าพ่อตา (หลวงอุดมพนาเวช ต้นตระกูลอุดมพงษ์) ทางเมืองนครราชสีมาจึงได้แต่งตั้งหลวงยกบัตร (ต้นตระกูลสุรัสวดี) มาเป็นผู้รั้งเมืองแทน ท่านผู้นี้ได้สร้างที่ทำการและที่พักขึ้น ณ ท้องสนามชุมพลบริเวณโรงเรียนบ้านนางรอง (ยุทธกาจราษฎร์วิทยาคาร) ในปัจจุบัน เป็นอันว่าเมืองนางรองสมัยมีเจ้าเมืองปกครองก็สิ้นสุดลงเพียงนี้
ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ จัดระบบการปกครองใหม่เป็น กระทรวง มณฑล ได้รวมเมืองนางรอง เมืองบุรีรัมย์ เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองรัตนบุรี เมืองพิมาย เมืองพุทไธสง เข้าเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า "บริเวณนางรอง" มีพระนครภักดี (ทองดี) รักษาการแทนเจ้าเมืองนางรอง ต่อมาอาณาเขตของเมืองนางรองเปลี่ยนแปลงไปคือ เมืองรัตนบุรีไปขึ้นกับสุรินทร์ เมืองพิมายไปขึ้นกับนครราชสีมา แล้วจึงตั้งเมืองแป๊ะขึ้นเป็นจังหวัดเรียกว่า "จังหวัดบุรีรัมย์" เมืองนางรองจึงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์
ความเป็นมาของชื่ออำเภอ[แก้]
เนื่องจากเป็นอำเภอที่มีประวัติยาวนาน และปรากฏชื่อเมืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นชื่ออำเภอจึงสันนิษฐานว่ามีที่มีอย่างไร โดยมีผู้สันนิษฐานไว้ 3 นัย
- อาศัยนามจากพนมรุ้ง ซึ่งเลือนมาจากภาษาเขมรว่า "พนมโรง" แปลว่า เขาชัน หรือเขาร่อง เป็นเมืองใหญ่อยู่ใกล้เขาพนมรุ้ง จึงเรียกเมืองโรง ต่อมาเปลี่ยนเป็นนางรอง
- ได้นามจากวัดโบราณทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกำแพงเมือง ชื่อวัดร้อง จึงได้ชื่อว่าเมืองร้องแล้วเปลี่ยนมาเป็นนางรอง หรือผู้สร้างวัดเป็นหญิงชื่อโรง เรียนนางโรง แล้วเปลี่ยนมาเป็นนางรอง
- ได้ชื่อมาจากนิทานในโบราณคดี เรื่อง นางอรพิม กล่าวว่า นางอรพิมนั่งร้องไห้จึงได้นามว่านางร้อง แล้วเลื่อนเป็นนางรอง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
1. | นางรอง | (Nang Rong) | 14 หมู่บ้าน | 9. | บ้านสิงห์ | (Ban Sing) | 14 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
2. | สะเดา | (Sadao) | 17 หมู่บ้าน | 10. | ลำไทรโยง | (Lam Sai Yong) | 14 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
3. | ชุมแสง | (Chum Saeng) | 14 หมู่บ้าน | 11. | ทรัพย์พระยา | (Sap Phraya) | 13 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
4. | หนองโบสถ์ | (Nong Bot) | 14 หมู่บ้าน | 12. | หนองยายพิมพ์ | (Nong Yai Phim) | 10 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
5. | หนองกง | (Nong Kong) | 11 หมู่บ้าน | 13. | หัวถนน | (Hua Thanon) | 11 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
6. | ถนนหัก | (Thanon Hak) | 13 หมู่บ้าน | 14. | ทุ่งแสงทอง | (Thung Saeng Thong) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
7. | หนองไทร | (Nong Sai) | 14 หมู่บ้าน | 15. | หนองโสน | (Nong Sano) | 12 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
8. | ก้านเหลือง | (Kan Lueang) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอนางรองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองนางรอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนางรองและตำบลถนนหัก
- เทศบาลตำบลทุ่งแสงทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งแสงทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนางรอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางรอง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองนางรอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเดาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแสงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโบสถ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถนนหัก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองนางรอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไทรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลก้านเหลือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลก้านเหลืองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทรโยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำไทรโยงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์พระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรัพย์พระยาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองยายพิมพ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวถนนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโสนทั้งตำบล
ศูนย์ราชการ[แก้]
- ที่ว่าการอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ ถนนสืบสหการ ตำบลนางรอง
- สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง ตั้งอยู่ที่ ถนนสืบสหการ ตำบลนางรอง
- เขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม 8 อำเภอ
- 1. อำเภอนางรอง
- 2. อำเภอหนองกี่
- 3. อำเภอละหานทราย
- 4. อำเภอโนนดินแดง
- 5. อำเภอชำนิ
- 6. อำเภอโนนสุวรรณ
- 7. อำเภอปะคำ
- 8. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- เขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม 8 อำเภอ
- ศาลจังหวัดนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 950 ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลนางรอง
- เขตอำนาจศาลครอบคลุม 10 อำเภอ
- 1. อำเภอนางรอง
- 2. อำเภอบ้านกรวด
- 3. อำเภอหนองกี่
- 4. อำเภอปะคำ
- 5. อำเภอละหานทราย
- 6. อำเภอหนองหงส์
- 7. อำเภอชำนิ
- 8. อำเภอโนนสุวรรณ
- 9. อำเภอโนนดินแดง
- 10. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- เขตอำนาจศาลครอบคลุม 10 อำเภอ
- สำนักงานอัยการจังหวัดนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 88 หมู่ที่ 12 ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลนางรอง
- สำนักงานบังคับคดีจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 52 หมู่ 4 ถนนโชคชัย-เดชอุดม
- สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง ตั้งอยู่ที่ อาคารพาณิชย์เลขที่ 147/21
ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลนางรอง
- สำนักงานเทศบาลเมืองนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 906 ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลนางรอง
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 110 ถนนสืบสหการ
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 33 ซอยมิตรอารีย์ ถนนสังขกาจประชานุสรณ์ ตำบลนางรอง
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอนางรองสาขาย่อย ตั้งอยู่ที่ ถนนสืบสหการ
- สำนักงานกิ่งกาชาดอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ ถนนสืบสหการ
- กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 215 ตั้งอยู่ชุมชนวัดสวนป่ารักษ์น้ำ
รัฐวิสาหกิจ[แก้]
- สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอนางรอง สาขาที่ 171 ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 9 ถนนศรีกัลยา ตำบลนางรอง
- สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 59 ถนนศรีกัลยา ตำบลนางรอง
- สำนักงานขนส่งอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 68 ถนนเฉลิมพระเกียรติ 50 ปี ตำบลนางรอง
- ที่ทำการไปรษณีย์อำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ 385 หมู่ 5 ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลนางรอง
- ศูนย์บริการลูกค้าทีโอทีอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ ถนนประจันตเขต ตำบลนางรอง
สถาบันการเงิน[แก้]
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารทหารไทย
- ธนาคารธนชาติ
- สถานธนานุบาล
- โรงรับจำนำนางรอง
- สหกรณ์การเกษตร
โรงเรียน[แก้]
- โรงเรียนฝ่ายประถม(ในตัวเมืองและใกล้ตัวเมืองนางรอง)
- โรงเรียนอนุบาลนางรอง (สังขกฤษณ์อนุสรณ์)
- โรงเรียนบ้านนางรอง (ยุทธกาจราษฎร์วิทยาคาร)
- โรงเรียนบ้านหนองรีมิตรภาพที่ 225
- โรงเรียนบ้านโคกหลวงพ่อ (พินิจศิลป์ประชานุกูล)
- โรงเรียนถนนหัก(เพียรประจงวิทยา)
- โรงเรียนบ้านหนองเสม็ด
- โรงเรียน้านแพงพวย(สังฆคุรุราชบำรุง)
- โรงเรียนชุมชนบ้านกระเดื่อง(โศภนประชานุกูล)
- โรงเรียนอนุบาลนางรอง (สังขกฤษณ์อนุสรณ์)
- โรงเรียนฝ่ายมัธยม
- โรงเรียนนางรอง (โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ)
- โรงเรียนนางรองพิทยาคม (โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอแห่งที่ 2)
- โรงเรียนสิงหวิทยาคม
- โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
- โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์
- โรงเรียนทุ่งแสงทองพิทยาคม
- โรงเรียนเหลืองพนาวิทยาคม
- โรงเรียนนางรอง (โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ)
- โรงเรียนเอกชน
- โรงเรียนมารีพิทักษ์
- โรงเรียนอนุบาลกมลลักษณ์
- โรงเรียนตุลยาธร
- โรงเรียนฝ่ายประถม-มัธยม
- โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล ๑)
- โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๑
- วิทยาลัย
- วิทยาลัยเทคนิคนางรอง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีบุรีรัมย์บริหารธุรกิจ
== โรงพยาบาล ==
- โรงพยาบาลนางรอง
- โรงพยาบาลเรืองโรจน์ การแพทย์(เอกชน)
สถานที่สำคัญ[แก้]
- ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนางรอง
- ศาลเจ้าเมืองนางรอง
- ศาลเจ้าพ่อสระหญ้าม้า
- ศาลเจ้าสมาคมพุทธธรรมสงเคราะห์ พ่งไล้ยี่จับชาเชียวเกาะ
- ศาลเจ้าพ่อถนนหัก
- อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี(ย่าโม)
- วัดกลางนางรอง
- วัดป่าเรไร
- วัดขุนก้อง
- วัดร่องมันเทศ
- วัดสวนป่ารักษ์น้ำ(ธุดงคสถาน)
- วัดหัวสะพาน
สวนสาธารณะและที่พักผ่อน[แก้]
- สวนสาธารณะหนองตาหมู่
- สวนสาธารณะหนองมน
- สวนสาธารณะอ่างเก็บน้ำทุ่งแหลม
- สวนสาธารณะอ่างเก็บน้ำหนองทะลอก
- สวนสุขภาพหน้ากาชาดนางรอง
- ห้องสมุดอำเภอนางรอง
รถโดยสารประจำทาง[แก้]
- สายกรุงเทพ-บุรีรัมย์ ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) มาลงที่สถานีขนส่งอำเภอนางรอง มีบริการทั้งกิจการทัวร์, บริษัทขนส่ง จำกัด
- สายที่ทางไกลผ่านนางรอง เป็นรถกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี, กรุงเทพฯ-สุรินทร์, กรุงเทพฯ-พนมรุ้ง และกรุงเทพฯ-ศรีสะเกษ ,นคราชสีมา-อุบลฯ แวะจอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่อำเภอนารอง มีทั้งรถปรับอากาศชั้น 1 , 2 และ VIP
- สายไประยอง
- ระยอง-พัทยา-อรัญประเทศ-นางรอง-สุรินทร์
- ระยอง-พัทยา-อรัญประเทศ-นางรอง-บุรีรัมย์-สตึก
- ระยอง-พัทยา-บุรีรัมย์-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร
- สายไปจังหวัดใกล้เคียง
- บุรีรัมย์-นครราชสีมา (สาย 273)
- นครราชสีมา-สุรินทร์ (สาย 274)
- บุรีรัมย์-สระแก้ว
- บุรีรัมย์-จันทบุรี
- สายไปต่างอำเภอ
- บุรีรัมย์-นางรอง
- นางรอง-ตาพระยา (สระแก้ว)
- นางรอง-ชุมพวง (นครราชสีมา)
- นางรอง-ละหานทราย
- บุรีรัมย์-นครราชสีมา (รถตู้)
- รถโดยสารในตัวเมือง
- สองแถวสายพนมรุ้ง ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งและตลาดสดเทศบาล
- รถแท็กซี่มิเตอร์ จุดให้บริการที่ บขส
- รถยนต์รับจ้าง(เหมาระยะทาง) จุดให้บริการที่ บขส
- มอเตอร์ไซด์วินรับจ้าง จุดให้บริการ ที่ บขส/คิวรถเล็ก/ธนาคารกสิกรไทย
- สายรถโดยสารสายไปต่างอำเภอ
- สายปะคำ ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งและคิวรถเล็ก (รถสองแถว)
- สายลำปลายมาศ ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่ง
อ้างอิง[แก้]
- ผศ.ดร.สรเชต วรคามวิชัย และคณะ. บุรีรัมย์ ภูมิหลังประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ที.เค.พริ้นติ้ง จำกัด, 2555.
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น