อำเภอประโคนชัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
ประโคนชัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์
เนื้อหา
[ซ่อน]ชื่อเดิม[แก้]
เดิมคือเมืองตะลุง (อยู่ที่บ้านตะลุงเก่า ตำบลโคกม้า ปัจจุบันย้ายมาอยู่ตำบลประโคนไชย) คำว่า "ตะลุง" หมายถึง เสาใหญ่ หรือ เสาหิน สำหรับผูกช้าง (ซึ่งเชื่อกันว่า ร.1 ทรงผูกช้าง ณ บริเวณที่อำเภอประโคนชัย) เมื่อ ร.ศ.116 เมืองตะลุงได้ตั้งเป็นอำเภอชื่อ อำเภอประโคนไชย[1] ในปี 2460 เปลี่ยนเป็น อำเภอตะลุง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น อำเภอประโคนชัย ในปี 2482
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอประโคนชัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์และอำเภอพลับพลาชัย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปราสาทและอำเภอพนมดงรัก (จังหวัดสุรินทร์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านกรวดและอำเภอละหานทราย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอนางรอง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
1. | ตำบลประโคนชัย | (Prakhon Chai) | 14 หมู่บ้าน | 9. | ตำบลไพศาล | (Phaisan) | 16 หมู่บ้าน | |||||||
2. | ตำบลแสลงโทน | (Salaeng Thon) | 7 หมู่บ้าน | 10. | ตำบลตะโกตาพิ | (Tako Taphi) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
3. | ตำบลบ้านไทร | (Ban Sai) | 12 หมู่บ้าน | 11. | ตำบลเขาคอก | (Khao Khok) | 15 หมู่บ้าน | |||||||
4. | ตำบลละเวี้ย | (Lawia) | 13 หมู่บ้าน | 12. | ตำบลหนองบอน | (Nong Bon) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
5. | ตำบลจรเข้มาก | (Chorakhe Mak) | 18 หมู่บ้าน | 13. | ตำบลโคกมะขาม | (Khok Makham) | 7 หมู่บ้าน | |||||||
6. | ตำบลปังกู | (Pang Ku) | 14 หมู่บ้าน | 14. | ตำบลโคกตูม | (Khok Tum) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
7. | ตำบลโคกย่าง | (Khok Yang) | 9 หมู่บ้าน | 15. | ตำบลประทัดบุ | (Prathat Bu) | 8 หมู่บ้าน | |||||||
8. | ตำบลโคกม้า | (Khok Ma) | 9 หมู่บ้าน | 16. | ตำบลสี่เหลี่ยม | (Si Liam) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอประโคนชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลประโคนชัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลประโคนชัย
- เทศบาลตำบลแสลงโทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสลงโทนทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโคกม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกม้าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเขาคอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาคอกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลประโคนชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประโคนชัย (นอกเขตเทศบาลตำบลประโคนชัย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไทรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลละเวี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละเวี้ยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้มาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจรเข้มากทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปังกู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปังกูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกย่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกย่างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไพศาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไพศาลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะโกตาพิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะโกตาพิทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกมะขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกมะขามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกตูมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลประทัดบุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประทัดบุทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสี่เหลี่ยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสี่เหลี่ยมทั้งตำบล
ประชากรในตำบล[แก้]
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อันดับ (ปีล่าสุด) | ตำบลในอำเภอประโคนชัย | พ.ศ. 2558[2] | พ.ศ. 2557[3] | พ.ศ. 2556[4] | พ.ศ. 2555[5] | พ.ศ. 2554[6] | พ.ศ. 2553[7] | พ.ศ. 2552[8] | พ.ศ. 2551[9] | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ประโคนชัย | 20,611 | 20,628 | 20,600 | 20,604 | 20,545 | 20,628 | 20,549 | 20,807 | |
2 | ไพศาล | 11,813 | 11,789 | 11,765 | 11,736 | 11,655 | 11,577 | 11,519 | 11,433 | |
3 | จรเข้มาก | 11,115 | 11,124 | 11,111 | 11,063 | 11,064 | 11,081 | 10,983 | 10,952 | |
4 | ปังกู | 10,096 | 10,031 | 9,996 | 9,958 | 9,870 | 9,836 | 9,748 | 9,740 | |
5 | เขาคอก | 10,088 | 10,032 | 10,013 | 9,939 | 9,924 | 9,893 | 9,810 | 9,752 | |
6 | ละเวี้ย | 9,934 | 9,915 | 9,887 | 9,857 | 9,805 | 9,829 | 9,834 | 9,802 | |
7 | บ้านไทร | 9,443 | 9,384 | 9,379 | 9,361 | 9,329 | 9,295 | 9,267 | 9,190 | |
8 | หนองบอน | 7,914 | 7,865 | 7,811 | 7,806 | 7,736 | 7,705 | 7,662 | 7,672 | |
9 | ตะโกตาพิ | 7,490 | 7,419 | 7,375 | 7,325 | 7,271 | 7,210 | 7,200 | 7,151 | |
10 | โคกม้า | 7,420 | 7,387 | 7,358 | 7,321 | 7,250 | 7,201 | 7,180 | 7,166 | |
11 | แสลงโทน | 6,079 | 6,096 | 6,055 | 6,003 | 5,946 | 5,915 | 5,870 | 5,857 | |
12 | โคกตูม | 5,760 | 5,721 | 5,705 | 5,672 | 5,661 | 5,626 | 5,605 | 5,578 | |
13 | สี่เหลี่ยม | 5,730 | 5,687 | 5,677 | 5,646 | 5,628 | 5,627 | 5,598 | 5,616 | |
14 | โคกมะขาม | 4,363 | 4,393 | 4,408 | 4,353 | 4,321 | 4,295 | 4,254 | 4,213 | |
15 | โคกย่าง | 4,311 | 4,329 | 4,320 | 4,301 | 4,306 | 4,294 | 4,287 | 4,281 | |
16 | ประทัดบุ | 4,065 | 4,035 | 4,056 | 4,054 | 4,056 | 4,040 | 4,023 | 3,980 | |
— | รวม | 136,232 | 135,835 | 135,516 | 134,999 | 134,367 | 134,052 | 133,389 | 133,190 |
แหล่งท่องเที่ยว[แก้]
ปราสาทบ้านบุ[แก้]
ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ ตำบลจระเข้มาก การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับทางไป ปราสาทเมืองต่ำ โดยปราสาทบ้านบุจะอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 2221 ห่างจากทางแยกเข้าปราสาทเมืองต่ำไปทางประโคนชัย 1.5 กม.
ปราสาทเมืองต่ำ[แก้]
ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2478 และได้เข้ามาทำการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2531 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2539 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งปราสาทหินเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ศิลปะขอมโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16-17 มีลักษณะเป็นกลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนศิลาแลงอันเดียวกัน เรียงเป็น 2 แถวตามแนวทิศเหนือใต้ แถวหน้า 3 องค์ องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์อื่น ส่วนแถวหลังมีปรางค์อิฐจำนวน 2 องค์ วางตำแหน่งให้อยู่ระหว่างช่อง ของปรางค์ 3 องค์ ในแถวแรก ทำให้สามารถมองเห็นปรางค์ทั้ง 5 องค์ พร้อมกันโดยไม่มีองค์หนึ่งมาบดบัง ซึ่งเป็นรูปแบบที่แตกต่างจากปราสาทแห่งอื่นๆ ที่จะมีปรางค์องค์ใหญ่ตรงกลางและล้อมรอบด้วยปรางค์ขนาดเล็กกว่าทั้ง 4 มุม ปรางค์ประธาน ปัจจุบันมีสภาพให้เห็นเฉพาะฐานเท่านั้น โดยมีผนังเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมขนาด 7 x 7 เมตร โครงสร้าง โดยรวมนั้นมีลักษณะ เหมือนกับปรางค์บริวารทั้ง 4 องค์ จะต่างกันก็เพียงแต่ปรางค์ประธานมีมุขหน้า ส่วนปรางค์บริวารไม่มี ปรางค์ประธานจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และเป็นด้านที่มีประตูเข้าสู่ภายในองค์ปรางค์เพียงด้านเดียว ส่วนที่เหลืออีก 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกนั้น ทำเป็นรูปประตูหลอก จากการขุดค้นเพื่อทำการบูรณะ ปราสาทเมืองต่ำของกรมศิลปากร ได้ขุดพบหน้าบันและทับหลังของมุขปราสาทปรางค์ประธานทำจากหินทราย หน้าบันจำหลักเป็นรูปพระอินทร์ประทับนั่งในท่ามหาราชลีลาสนะ คือ นั่งชันเข่าขวาขึ้น ขาซ้ายพับ เหนือช้างเอราวัณสามเศียรในซุ้มเรือนแก้วอยู่บน หน้ากาล ลักษณะของซุ้มหน้าบันนี้ เป็นศิลปะเขมรแบบบาปวน มีอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 ปราสาททั้ง 5 จะล้อมรอบด้วยระเบียงคดซึ่งมีทับหลังและซุ้มประตูแกะสลักด้วยหินทรายอย่างงดงาม มีสระน้ำ หรือบาราย กรุด้วยศิลาแลง ทั้ง 4 ทิศ มุมสระมีพญานาคหินทราย 5 เศียร ทอดตัวยาวรอบขอบสระน้ำ ชั้นนอกปราสาทมีกำแพงศิลาแลงอีกชั้น
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน[แก้]
ห่างจากตัวอำเภอประโคนชัยเพียง 3กิโลเมตร ตามทางหลวงสาย ประโคนชัย - บุรีรัมย์ เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์ที่ สวยงาม เป็นที่ตั้งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบินเก่า มีพื้นที่ประมาณ 3,568 ไร่ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้เป็นที่จอดเครื่องบินเพื่อส่งเสบียงอาหาร และเมื่อสงครามยุติทางราชการจึงให้พื้นที่นี้เป็นสาธารณประโยชน์ และที่พักผ่อนของชาวอำเภอประโคนชัย มีนกน้ำชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พบนกที่หาได้ยากในธรรมชาติ ได้แก่ นกอ้ายงั่ว ห่านเกรย์เลกหรือห่านเทาปากสีชมพู นกกาบบัว นกเป็ดหงษ์ เป็ดดำหัวดำ ฯลฯ เป็นแหล่งดูนกน้ำที่ดีที่สุดอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็น พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบพักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติ
ชุมชนโบราณบ้านแสลงโทน[แก้]
เป็นชุมชนโบราณตั้งอยู่ในเขตบ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ ตามทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ระยะทาง 25 กิโลเมตร ทางหลวงตัดผ่ากลางชุมชนโบราณ มองเห็นคันดินเป็นแนวสูงประมาณ 5-7 เมตร อยู่สองข้างทาง ชุมชนโบราณแห่งนี้มีลักษณะเป็นรูปกลมรีวางตามแนวตะวันออก ตะวันตก ยาวประมาณ 5,756 เมตร กว้าง 1,750 เมตร มีคูเมืองโอบอยู่นอกคันดิน 3 ชั้น ปัจจุบันเหลือเพียงชั้นเดียว ใกล้คันดินด้านที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสลงโทนในปัจจุบัน มีเนินดินซึ่งมีก้อนหินศิลาแลงกระจัดกระจายเข้าใจว่าเคยมีศาสนสถาน แต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อแสลงโทน เรียกว่า ศาลปู่เจ้าหรือกระท่อมเนียะตา เป็นศาลเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแสลงโทนและชาวบ้านใกล้เคียง สร้างด้วยไม้ระแนง หลังคามุงกระเบื้องและพื้นเป็นปูนซีเมนต์ ทั้งคูน้ำคันดิน (ที่เหลืออยู่ริมทางหลวง) และเนินดินศาลเจ้าพ่อแสลงโทน ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว นอกจากนี้ยังพบหลักฐานอื่นที่สำคัญ คือ สระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมในเขตวัดแสลงโทน 2 สระ พบเศษภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ เทวรูปเก่าและใบเสมาเก่า ซึ่งเข้าใจว่าบริเวณนี้เคยเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชนโบราณ
สถานศึกษา[แก้]
ประถมศึกษา[แก้]
- โรงเรียนอนุบาลประโคนชัย (อำนวยกิจราษฎร์วิทยาคาร)
- โรงเรียนประโคนชัยวิทยา
- โรงเรียนอนุบาลกัลยาประสิทธิ์(เอกชน)
- โรงเรียนวัดแจ้ง (เศียรคุรุราษฎร์บำรุง)
- โรงเรียนวิจิตรปัญญา(เอกชน)
- โรงเรียนวัดตะลุงเก่า
- โรงเรียนบ้านโคกกลาง
- โรงเรียนบ้านปังกู
- โรงเรียนบ้านจรเข้มาก
- โรงเรียนวัดบ้านเมืองต่ำ
- โรงเรียนบ้านหนองม่วง
- โรงเรียนบ้านหนองม่วงพัฒนา
- โรงเรียนบ้านศรีถาวร
- โรงเรียนบ้านไทร (เสคุรุราษฎรฺบำรุง)
- โรงเรียนบ้านแสลงโทน
- โรงเรียนบ้านสี่เหลี่ยม
- โรงเรียนบ้านโคกเพชร
- โรงเรียนบ้านโคกเพชรไสยา
- โรงเรียนวัดบ้านไพบูลย์
- โรงเรียนบ้านละเวี้ย (แปลงคุรุราษฎรฺบำรุง)
- โรงเรียนบ้านไพศาลสามัคคี
- โรงเรียนบ้านบ่อดิน
- โรงเรียนบ้านจรอกใหญ่
มัธยมศึกษา[แก้]
- โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม
- โรงเรียนเมืองตลุงพิทยาสรรพ์
- โรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์
- โรงเรียนไพศาลพิทยาคม
- โรงเรียนแสลงโทนพิทยาคม
สถาบันอาชีวศึกษา[แก้]
วัด[แก้]
- วัดจำปา
- วัดกลางประโคนชัย
- วัดโคน
- วัดสหมิตรนฤมาน
- วัดแจ้ง
- วัดโพธิ์
- วัดชัยมงคล
- วัดตาด่าน
- วัดป่าหนองม่วง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น