วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

                                     https://youtu.be/Z_4MMHnwxnk

วนอุทยานเขากระโดง - จ.บุรีรัมย์ [GMZ Team]





                                    https://youtu.be/0xt8ApAPjDE

อำเภอพุทไธสง


อำเภอพุทไธสง
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอพุทไธสง
คูเมืองเก่าแต่โบราณ นมัสการพระเจ้าใหญ่
สุดสวยผ้าไหมไทย แลวิไลบึงสระบัว
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทยอำเภอพุทไธสง
อักษรโรมันAmphoe Phutthaisong
จังหวัดบุรีรัมย์
รหัสทางภูมิศาสตร์3109
รหัสไปรษณีย์31120
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่330.0 ตร.กม.
ประชากร46,639 คน (พ.ศ. 2558)
ความหนาแน่น141.33 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอพุทไธสง
หมู่ที่ 1 ถนนอรุณประเสริฐ ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ 31120
พิกัด15°32′54″N 103°1′30″E
หมายเลขโทรศัพท์0 4468 9246
หมายเลขโทรสาร0 4468 9246

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
พุทไธสง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์เป็นเมืองประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีชื่อเสียงด้านการเป็นแหล่งทอผ้าไหมมัดหมี่ที่สวยงาม และมีพระคู่บ้านคู่เมือง คือ พระเจ้าใหญ่ วัดหงส์

ประวัติและความเป็นมาของเมืองพุทไธสง[แก้]

สภาพทั่วไป[แก้]

เมืองพุทไธสง เป็นแหล่งสถานที่ตั้งเมืองประวัติศาสตร์ หลักฐานสำคัญคือ มีคูเมืองเก่าที่เป็นคันคูน้ำอยู่จำนวน 2 ชั้น ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพุทไธสงในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย
  1. คูบึงชั้นนอกด้านทิศเหนือประกอบไปด้วย บึงสระบัวหรือบึงใหญ่ ตั้งอยู่เขตหมู่ 1 บ้านพุทไธสง หนองเม็ก ตั้งอยู่เขตหมู่ 3 บ้านโพนทอง คูบึงชั้นในด้านทิศเหนือ มีบึงเจ๊กและบึงอ้อ ตั้งอยู่เขตหมู่ที่ 1 บ้านพุทไธสง ในเขตตำบลพุทไธสง รอบโนนที่ตั้งเมืองพุทไธสง
  2. คูบึงชั้นนอกด้านทิศตะวันออกประกอบไปด้วย บึงมะเขือ บึงบัวขาว อยู่ติดเขตหมู่ 1 บ้านพุทไธสง กับเขตหมู่ 1 บ้านมะเฟือง คูบึงชั้นในด้านทิศตะวันออก มีบึงกลาง บึงสร้างนาง อยู่เขตหมู่ 1 บ้านพุทไธสง ตำบลพุทไธสง มีหนองน้ำชั้นนอกออกไปอีกคือหนองกระจับ หนองสรวง ในเขตหมู่ที่ 1 บ้านมะเฟือง ตำบลมะเฟือง
  3. คูบึงชั้นนอกด้านทิศใต้ประกอบไปด้วย บึงฆ่าแข่ ห้วยเตย หนองบัว อยู่ติดเขตหมู่ 2 บ้านโนนหนองสรวง คูบึงชั้นในด้านทิศใต้ มีบึงสร้างนาง หนองกระทุ่มหนา อยู่เขตหมู่ 1 บ้านพุทไธสง
  4. คูบึงชั้นนอกด้านทิศตะวันตก มีหนองน้ำชื่อร่องเสือเต้น กั้นเขตแดนระหว่างโรงเรียนพุทไธสงและโรงเรียนตงศิริราษฎร์อนุสรณ์และเป็นเขตแดนระหว่างหมู่ที่ 3 บ้านโพนทองกับหมู่ที่ 4 บ้านเตย เป็นลักษณะบึงสั้นๆ ไม่ตลอดแนว และด้านนี้ไม่มีคูบึงชั้นใน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสลับที่เนินเตี้ยๆ พื้นที่โดยรวมลาดเอียงจากทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 140 – 160 เมตร ใจกลางเมืองตั้งอยู่ที่ละติจูด 15.538 องศาเหนือ ลองติจูด103.0057 องศาตะวันออก มีห้วยเตยเป็นร่องน้ำหลักไหลมารวมที่บึงต่างๆ และมีร่องน้ำย่อยๆ รับน้ำในด้านทิศเหนือซึ่งเป็นทางเกวียนคมนาคมเดิม เช่นทางเกวียนบ้านเตยไปนาโพธิ์ ทางเกวียนบ้านโพนทองเหนือหนองเม็ก ไปบ้านแวง บ้านนาโพธิ์ ทางเกวียนเหนือบ้านเตยไปหนองเม็ก ร่องน้ำจากโนนบ้านหนองบกไหลผ่านป่าโคกที่สาธารณะประโยชน์หนองหัวควายไหลลงบึงใหญ่และจากบึงใหญ่ไหลล้นไปบึงมะเขือและทุ่งนาด้านทิศตะวันออกบึงมะเขือ และบึงมะเขือบางส่วนมีทางระบายน้ำจากน้ำรวมที่บึงชั้นนอกไหลไปรวมที่ด้านบึงบัวขาวไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามคลองที่ขุดใหม่ชื่อคลองอีสานเขียวไหลลงทุ่งนาและลงสู่น้ำมูลด้านทิศใต้บ้านส้มกบ ตำบลมะเฟือง อุณหภูมิเฉลี่ยหน้าร้อน 31 องศาเซลเซียส หน้าหนาว 20 องศาเซลเซียส หน้าฝน 26 องศาเซลเซียส
โนนเมืองเป็นที่ดอน เรียกว่า โนน(เนิน) จำนวน 7 โนนดังนี้
  1. โนนโรงเรียนอนุบาลพุทไธสงเดิม(โอภาสประชานุสรณ์)ปัจจุบันเป็นที่ตั้งคิวรถและตลาดสดเทศบาลตำบลพุทไธสง เดิมเป็นเนินสูงได้ขุดดินออกไปประมาณระดับ 1.50 เมตรในอดีตเป็นเนินใหญ่สุดและเป็นศูนย์กลางตั้งตัวเมืองจนถึงปัจจุบัน
  2. โนนอนามัยเดิม ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานสาธารณสุขอำเภอพุทไธสงเป็นโนนที่สูงกว่าทุกโนนที่กล่าวถึง แต่ถูกปรับเกลี่ยให้ต่ำลงเพื่อนำเอาดินมาสร้างที่ว่าการอำเภอหลังเก่า ห้องสมุดประชาชนเดิม และสถานีตำรวจภูธรพุทไธสง
  3. โนนโรงเรียนพุทไธสงเดิม ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลพุทไธสง เดิมเป็นพื้นที่สูงมีน้ำล้อมรอบและใช้เป็นป่าช้าที่ฝังศพ
  4. โนนบ้านโพนทอง เป็นโนนสูงกว้างใหญ่ หลังจากตั้งเมืองพุทไธสงใหม่ที่บ้านมะเฟือง มีข้าราชการจากเมืองมาตั้งบ้านขึ้นใหม่ที่โนนนี้เรียกว่าบ้านใหม่โพนทอง
  5. โนนโรงเรียนตงศิริราษฎร์อนุสรณ์ เป็นโนนสูงด้านทิศตะวันตก ถูกปรับเกรดให้ต่ำลงจากเดิมราว 2 เมตร มีลักษณะดินปนหินขี้ตะกรันเหล็ก อาจเป็นแหล่งถลุงเหล็กทำเครื่องมือและอาวุธ
  6. โนนหนองสรวงตั้งอยู่ทางทิศใต้ ลักษณะยาวตามทิศตะวันออกไปตะวันตก เป็นที่ตั้งบ้านโนนหนองสรวงหมู่ที่ 2
  7. โนนอีแก้ว เป็นโนนสูงขนาดเล็กอยู่ทางทิศใต้มีทุ่งนากั้นระหว่างโนนหนองสรวงด้านทิศตะวันออก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์หม่อนไหมบุรีรัมย์สาขาพุทไธสง

ลักษณะทางประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์[แก้]

เมืองพุทไธสงได้จัดให้อยู่ในกลุ่มเมืองโบราณของภาคอีสานใต้อยู่แถบลุ่มน้ำมูล-น้ำชี(กรมทรัพยากรธรณีได้แบ่งภาคอีสานออกตามภูมิศาสตร์โดยใช้แนวเทือกเขาภูพานแบ่งเป็นอีสานเหนือเรียกว่าแอ่งสกลนครอีสานใต้เรียกว่าแอ่งโคราช)มีลักษณะต่าง ๆ แยกออกเป็นดังนี้
ลักษณะเมืองโบราณของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ ที่เราเรียกว่า “เมืองในสมัยทวาราวดี” ลักษณะเป็นเมืองที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบมีลักษณะทรงกลม คล้ายเมืองโบราณในประเทศอังกฤษและประเทศจีน เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว มีหลักฐาน
การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในแถบอีสานใต้ลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี จากการสำรวจของรองศาสตราจารย์ ศรีศักดิ์ วัลลโภดม และของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทิวา ศุภจรรยาและคณะ ปรากฏว่ามีชุมชนโบราณที่มีลักษณะมีคูน้ำคันดินล้อมรอบในแถบลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชีถึงจำนวน 67/1 แห่ง จากจำนวนชุมชนที่มีคูน้ำคันดินทั้งภาคอีสานกว่า 700 แห่ง ความหนาแน่นของชุมชนอยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องให้และเขตติดต่อระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา
ลักษณะที่มาของคูน้ำคันดินแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ แบบสี่เหลี่ยมและแบบทรงกลม จากหลักฐานแบบสี่เหลี่ยมเกิดขึ้นในยุคที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เกิดขึ้นตั้งแต่ราวพุทธศวรรษที่ 7 สำหรับแบบทรงกลมได้รับอิทธิพลจากเพื่อนบ้านที่มีอารยธรรมสูงกว่า และมีความมั่นคงทางการเมือง เกิดขึ้นราว 3,000 – 5,000 ปีมาแล้ว ก่อนสมัยทวาราวดีของอินเดีย ผศ. ทิวา ศุภจรรยา ให้ความเห็นว่า การสร้างคูน้ำคันดินรอบชุมชนนี้น่าจะเกิดขึ้นเองเป็นครั้งแรกในแถบลุ่มแม่น้ำมูลและลุ่มแม่น้ำชี และใกล้เคียงแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช
ชุมชนโบราณที่ตั้งในอีสานใต้ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มีกลุ่มชุมชนอยู่ดังนี้
  • กลุ่มพนมรุ้ง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 18 ชุมชน
  • กลุ่มเมืองฝ้าย ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 15 ชุมชน
  • กลุ่มสะแกโพรง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 12 ชุมชนซึ่งในนี้รวมทั้งเมืองดู่ เมืองฝางด้วย
  • กลุ่มเมืองแปะ ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 6 ชุมชนมีเมืองแปะ(บุรีรัมย์)เป็นศูนย์กลาง
  • กลุ่มหนองเอีน(ตำบลหนองกระทิงเขตอำเภอลำปลายมาศ) ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 8 ชุมชนซึ่งในนี้รวมทั้งเมืองผไทรินทร์ด้วย
  • กลุ่มทะเมนชัย ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 4 ชุมชนศูนย์กลางอยู่ที่บ้านเก่าทะเมนชัย
  • กลุ่มบ้านสนวน (อำเภอลำปลายมาศ) ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 6 ชุมชน
  • กลุ่มบ้านพระครู ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 3 ชุมชนมีพระครูใหญ่เป็นศูนย์กลางหลัก
  • กลุ่มบ้านตะโคง อำเภอบ้านด่าน ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 5 ชุมชน และตั้งตามริมลำน้ำห้วยราช
  • กลุ่มเมืองไผ่ อำเภอกระสัง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 4 ชุมชน ตั้งตามลำห้วยไผ่และห้วยเนอะเตียบ
  • กลุ่มโนนเมือง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 6 ชุมชน กลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษ นอกจากมีคูน้ำคันดินรอบเมืองแล้วยังมีคันดินรอบเมืองอีกหลายกิโลเมตร ชาวบ้านเรียกว่าคูเมือง
  • กลุ่มร่อนทอง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 5 ชุมชน เมืองร่อนทองมีสระน้ำสี่เหลี่ยมและทำนบกั้นน้ำยาวมาก
  • กลุ่มทุ่งวัง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 5 ชุมชนอยู่ฝั่งน้ำมูล
  • กลุ่มแคนดง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 16 ชุมชน อยู่ฝั่งน้ำมูลและมีท่าเรือเป็นแหล่งเครื่องปั้นดินเผา
  • กลุ่มปะเคียบ ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 5 ชุมชน มีหลักฐานอารยธรรมทวาราวดีหนาแน่น เช่นใบเสมา และเครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูปสมัยทวาราวดีริมมูลบ้านวังปลัด จำนวน 3 องค์ ซึ่งเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร
  • กลุ่มพุทไธสง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 15 ชุมชน มีเมืองพุทไธสงเป็นเมืองหลัก ยังมีสถานที่หลงเหลือคือคูเมืองซึ่งเป็นคูน้ำคันดิน สมบูรณ์ เมืองนี้เข้าใจว่ามีคนอยู่อาศัยต่อเนื่องไม่ขาดตอน มีพระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ สมัยทวาราวดี และมีชุมชนย่านเดียวกัน ประกอบไปด้วย เมืองน้อย(อำเภอนาโพธิ์) เมืองขมิ้น(บ้านคูณ) กู่สวนแตง(อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์) บ้านจอก(อำเภอนาโพธิ์)ดอนเมืองแร้ง (ตำบลบ้านจาน) บ้านจิก บ้านเมืองน้อย(ตำบลบ้านแวง) บ้านแดงน้อย(ตำบลพุทไธสง) บ้านเบาใหญ่ บ้านโนนสมบูรณ์(ตำบลหายโศก) กู่ฤๅษี (อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์) เมืองยาง(อำเภอเมืองยาง) บ้านยาง(ตำบลบ้านยาง) หนองสระ บ้านหนองแวง(อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์) บ้านดู่(อำเภอนาโพธิ์) รูปวาดฝาผนังโบสถ์ วัดบรมคงคา (ตำบลบ้านแวง) โบสถ์วัดมณีจันทร์ (ตำบลมะเฟือง)
  • กลุ่มเมืองตลุง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 15 ชุมชน มีเมืองตลุงเป็นศูนย์กลาง เป็นเมืองของคนเขมร
ศาสนาฮินดู(พราหมณ์)ในยุคอารยธรรมขอมรุ่งเรือง ขอมได้เข้ามาครอบครองเมืองไทยตั้งแต่เขมรถึงเมืองสุโขทัย พุทไธสงเป็นเมืองหน้าด่านของขอม ก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มาขับไล่ขอมแล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ยุคนี้จะเป็นยุคที่ขอมนำคนไทยสร้างเมืองโดยการขุดคูคลองล้อมรอบจุดที่ตั้งเมือง และเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานในช่วงอารยธรรมขอมนี้ ซึ่งจะเห็นจากหลักฐานการสร้างปราสาทหินในดินแดนไทย การขุดคูเมืองเป็นคลองล้อมรอบเมืองเป็น 2 ชั้น ตามหลักฐานทางโบราณสถานที่พอจะดูได้คือ กู่สวนแตงที่ตำบลกู่สวนแตง กุฏิฤๅษีที่บ้านกู่ฤๅษี บ้านส้มป่อยในเขตอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ปราสาทหินเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น พระธาตุบ้านดู่ ตามสายน้ำลำพังชูเป็นการก่อสร้างโดยใช้หินตัดแบบเดียวกับปราสาทหินเมืองต่ำ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเขาสามยอดลพบุรี หลังจากพระมหากษัตริย์ไทยตั้งเมืองสุโขทัยสำเร็จ สมัยพ่อขุนรามคำแหงได้ขยายอาณาเขตสุโขทัยออกไป เมืองพุทไธสงได้ถูกทำลายทิ้งไป พุทไธสงจึงเป็นเมืองร้างไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่ชุมชนคนไทยคงรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนรอบๆ ตัวเมืองเดิม และต่อมามีผู้คนอพยพมาอยู่รวมกันมากขึ้น
ปรางค์กู่สวนแตง ตั้งอยู่ที่กลางบ้านดงยาง ตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นปรางค์อิฐเรียงกันตามแนวเหนือใต้ จำนวน 2 หลัง บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ขนาด 31.76 -/- 25.40 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางเป็นปรางค์ประธานและเป็นองค์เดียวที่มีมุขยื่นออกมา ทางด้านหน้ารับเสากรอบประตูซึ่งเป็นหิน ปรางค์ทั้งสามองค์มีประตูเข้า – ออก ทางด้านทิศตะวันออกส่วนอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก มีสระน้ำโบราณเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด 42 -/- 32 เมตร ล้อมรอบด้วยคันดิน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามบันทึกของนายเอเดียน เอ็ดมองค์ลูเนต์เดอ ลาจอง กิแยร์ นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ซึ่งมาศึกษาศาสนสถานแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2450 ว่าจากสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม แสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพล ศิลปกรรมจากสมัยนครวัดนครธมของกัมพูชาซึ่งมีอายุระหว่าง พ.ศ. 1642 –1718 เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู
เมืองพุทไธสง เป็นถิ่นที่อยู่ของคนไทยอีสานที่มาอยู่รวมกันในแถบลุ่มน้ำมูล เป็นดินแดนที่มีแม่น้ำล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ทิศเหนือและทิศตะวันออกมีลำพังชู ที่ไหลจากอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่นลงสู่แม่น้ำมูลที่ตำบลบ้านยาง ทิศใต้มีแม่น้ำมูล และลำสะแทดที่ไหลมาจากอำเภอคง นครราชสีมา ลงสู่แม่น้ำมูลที่ตำบลบ้านจาน ทิศตะวันตกมีลำแอกไหลมาจากอำเภอหนองสองห้องจังหวัดขอนแก่นและอำเภอสีดา นครราชสีมา ไหลลงลำสะแทดที่ตำบลหนองเยือง จะเห็นว่าถิ่นที่อยู่ของคนในจังหวัดบุรีรัมย์ มีอยู่ 3 เมืองใหญ่ๆ ในสมัยเก่าช่วงเดียวกันคือ คนเขมรจะรวมกลุ่มกันอยู่เมืองตลุง(ประโคนชัย) คนไทยโคราชจะรวมกลุ่มกันอยู่ที่เมืองนางรอง คนไทยอีสานรวมกลุ่มกันอยู่ที่เมืองพุทไธสง ซึ่งแสดงว่ามีเมืองอยู่เดิมแล้วในบริเวณที่กล่าวถึงนี้
ตามที่นักโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ 12 อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สันนิษฐานว่าเมืองพุทไธสงสร้างมา 3,000 ปีแล้ว จากการค้นพบเศษกระเบื้องและพระพุทธรูปที่ลำน้ำมูลที่บ้านวังปลัด ใบเสมาที่บ้านปะเคียบ พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ที่บ้านศีรษะแรต
เมืองพุทไธสง มีพระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ บ้านศีรษะแรต เป็นพระพุทธรูปประจำคู่เมืองพุทไธสง สร้างในช่วงราวปี พ.ศ. 1500 เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี เป็นที่เคารพ ของผู้คนทั่วไปมาตั้งแต่โบราณ สร้างด้วยมวลสารและยางบง ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 1.6 เมตร สูง 2 เมตร จะมีงานนมัสการปิดทองพระเจ้าใหญ่ประจำทุกปีในช่วงวันเพ็ญเดือนสาม นอกจากนี้ยังมีหลักฐานพระพุทธรูปในสมัยเดียวกันในท้องที่อำเภอข้างเคียง เช่น พระพุทธรูปในลำน้ำมูล บ้านวังปลัด ใบเสมาบ้านปะเคียบ เขตอำเภอคูเมืองในปัจจุบัน องค์พระเจ้าใหญ่เป็นศิลปะการก่อสร้างที่แตกต่างไปจากขอม กล่าวคือเป็นศิลปะทางพระพุทธศาสนาโดยสันนิษฐานว่าคงสร้างตามอิทธิพลของอารยธรรมลาว(ล้านช้าง)ในถิ่นนี้ และยังมีพระธาตุ 1 องค์ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวิหารพระเจ้าใหญ่ ส่วนสูงของพระธาตุ 12 เมตร ฐานกว้าง 6 เมตร ก่อด้วยอิฐแดงไม่ฉาบปูนคงจะเป็นรุ่นเดียวกันกับพระธาตุพระพนมฝีมือลาวในสมัยทวารวดี ปัจจุบันได้สร้างพระธาตุใหม่ครอบไว้
ในช่วงยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พุทไธสงเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญมาก เป็นกันชนให้ทั้งสามอาณาจักร ไทย ลาว เขมร พร้อมกับเมืองสำคัญที่เป็นเมืองหน้าด่านทางภาคอีสานซึ่งประกอบไปด้วย ด่านจอหอ เมืองพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน เมืองพุทไธสง เมืองนางรอง เมืองตลุง(ประโคนชัย) ในจังหวัดบุรีรัมย์ในปัจจุบัน เมืองกัณทราลักษณ์ จังหวัดศีรษะเกษ เมืองกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมืองเหล่านี้เดิมเป็นเมืองใหญ่มีประชากรมากมีเจ้าเมืองปกครอง สามารถเกณฑ์ทหารไปสู้รบ หรือป้องกันตนเอง เป็นหน้าด่านป้องกันศัตรูที่จะเข้าเมืองหลวง และตั้งมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณปี พ.ศ. 1895 (คลังปัญญาไทย กรุงศรีอยุธยาตอนต้นจัดการปกครองแบบกรุงสุโขทัย แบ่งเมืองหน้าด่านออกเป็น 8 ทิศ เรียกว่า เมืองป้อมปราการ และมีหัวเมืองชั้นนอกชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช)
ในช่วงยุคใหม่ พุทไธสงตั้งเมืองขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยาจักรี(สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกในเวลาต่อมา) ทรงยกทัพไปปราบเมืองจันทบุรีศรีสัตนาคณหุต(เวียงจันทน์) ที่แข็งเมือง ราวปี พ.ศ. 2318 ได้นำชายไทยจากเมืองพุทไธสงและหมู่บ้านรอบๆ ตัวเมืองไปเป็นไพร่พลรบด้วย และในจำนวนนี้มีท้าวเพียศรีปาก(นา) เพียเหล็กสะท้านผู้มีหน้าที่จัดทำอาวุธ เพียไกรสอนผู้มีหน้าที่เกณฑ์ไพร่พลทหารและทหารรวม 200 คนไปด้วย เพียศรีปากได้ทำการสู้รบด้วยความองอาจกล้าหาญ มีความสามารถ จนกองทัพไทยทำการสำเร็จได้รับชัยชนะกลับกรุงธนบุรี และได้กวาดต้อนผู้คนกลับมาเมืองไทยเป็นจำนวนมากช่วงกลับได้เดินทัพผ่าน หนองคาย นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม พุทไธสง และได้พักแรมที่หนองแสนโคตร ใกล้บ้านมะเฟือง และได้สำรวจตัวเมืองเก่า เพื่อตั้งเมืองใหม่ เห็นว่าเมืองเก่าถูกละทิ้งมานานเป็นป่ารกยากแก่การบูรณะ จึงให้สร้างเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านโนนหมากเฟืองและบ้านหัวแฮด เจ้าพระยาจักรี ทรงโปรดให้แต่งตั้ง ท้าวเพียศรีปาก(นา) เป็นพระเสนาสงคราม เป็นเจ้าเมืองพุทไธสงคนแรก โดยพุทไธสงได้แบ่งแยกพื้นที่จากเขตแดนเมืองสุวรรณภูมิ(เมืองท่ง) ที่ด้านทิศตะวันตกห้วยลำพังชูไปถึงลำสะแทด ลำแอกเป็นเขตเมืองพุทไธสงด้านทิศ ตะวันออกเป็นฝั่งเมืองสุวรรณภูมิ โดยให้ขึ้นกับเจ้าพระยาเมืองนครราชสีมา (ประชุมพงศาวดาร ภาค 4 เรื่องพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรในพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
พระเสนาสงคราม เดิมชื่อ เพียศรีปาก(นา)เป็นคนไทยลาวอีสาน เกิดที่นครจำปาศักดิ์ ตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ราว พ.ศ. 2289 อพยพมาตั้งหลักแหล่งในเขตจังหวัดมหาสารคาม แขวงสุวรรณภูมิ ได้นำพรรคพวกมาล่าสัตว์ในเขตพุทไธสง ลุ่มน้ำลำพังซู ได้มาพบพระพุทธรูปใหญ่ในป่าข้างหนองน้ำ เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะดี ได้นำญาติและพวกๆ มาตั้งรกรากอยู่บ้านศีรษะแรต(พบหัวแรดในหนองน้ำ)ท้าวเพียศรีปาก(นา)

สมัยเป็นเจ้าเมือง เรียกว่า “อุปฮาดราชวงศ์”[แก้]

พระเสนาสงคราม ต้องสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นภารกิจที่ใหญ่หลวงและงานหนักมาก นอกจากภารกิจในชุมชนเมืองพุทไธสงแล้วยังมีภารกิจร่วมปกป้องชาติบ้านเมืองอยู่หลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2121 เมื่อคราวกบฏเจ้าอิน เจ้าโอ ที่เมืองนางรอง และเมื่อเมืองนครจำปาศักดิ์คิดแข็งเมืองฝักใฝ่ฝ่ายญวน ทางเมืองหลวงได้มีตราสาร มายังพระเสนาสงคราม ให้ยกกองกำลังไป-ปราบกบฏร่วมกับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พระเสนาสงคราม และท้าวหน่อพุทธางกูล หลวงเวียงพุทไธสงบุตรชายของพระเสนาสงคราม ก็ได้ปฏิบัติภารกิจนี้จนสำเร็จ อย่างมิย่นย่อ ผลจากการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่เกิดผลสำเร็จด้วยดี ของพระเสนาสงครามอันเป็นที่ประจักษ์ต่อเบื้องยุคลบาท ครั้นในปี พ.ศ. 2321 ได้รับทรงแต่งตั้งโดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯให้เป็นพระยาเสนาสงคราม เป็นเจ้าเมืองพุทไธสง คนแรก พระยาเสนาสงครามได้ปกครองเมืองพุทไธสงตั้งแต่ พ.ศ. 2318 ถึง พ.ศ. 2370 เป็นเวลา 52 ปี อายุรวม 81 ปี ดังปรากฏในประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 40 ภาค 65 – 66 เรื่องพระราชพงศาวดาร ธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) พระเสนาสงคราม มีบุตร 2 คนคือ
  1. ท้าวหน่อพุทธางกูล หลวงเวียงพุทไธสง หรือพระนครภักดี ได้เลื่อนเป็นพระยานครภักดี ได้มีความชอบครั้งไปร่วมรบที่จำปาศักดิ์ กลับมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองแปะ(บุรีรัมย์)คนแรก
  2. ท้าวนา เป็นพระเสนาสงครามที่ 2 เป็นเจ้าเมืองพุทไธสงคนที่ 2 ต่อจากพระยาเสนาสงคราม ผู้เป็นบิดา เมื่อ พ.ศ. 2370 ได้ปกครองเมืองพุทไธสงถึง พ.ศ. 2407 เป็นเวลา 37 ปี อายุรวม 82 ปี

ในยุคการสร้างบ้านแปลงเมืองอย่างยิ่งใหญ่โดย[แก้]

  1. ให้เจ้าเมืองเข้าไปเมืองหลวงเพื่อศึกษาอบรม (ข้อมูลจาก นายประวัติ วิศิษฎ์ศิลป์ ลำดับหลานพระเสนาสงครามคนสุดท้ายผู้ให้ข้อมูล) ให้รู้จักจารีตประเพณี เจ้าเมือง ได้รับสมุดข่อยปกสีขาว มาเป็นพระธรรมนูญการปกครอง สมุดข่อยปกสีดำมาเป็นกฎหมายแพ่ง
  2. ได้รับมอบดาบอาญาสิทธิ์ฝังเพชรในฐานะเจ้าเมือง ๑ เล่ม มีสิทธิปกครองโดยเด็ดขาด ไม่ต้องขอพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าอยู่หัว
  3. ได้ขุดสระน้ำขนาดใหญ่ท้ายโนนมะเฟืองด้านทิศเหนือ สำหรับเก็บน้ำไว้ใช้มีชื่อว่า หนองสรวง
  4. ขุดดินลอกจากสระน้ำมาถมที่ดินที่เป็นทุ่งนาข้างสระมาสร้างที่ว่าการเจ้าเมือง ในเขตบ้านมะเฟืองในปัจจุบัน
  5. สร้างวัง (โฮง) สำหรับเจ้าเมือง 1 หลัง ใช้เสาไม้พันชาดซึ่งเป็นไม้ทนทาน(ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดในถิ่นมีเนื้อไม้แข็งใบสีเขียวหม่นลำต้นสีเทาออกไปดำมีเปลือกหนาถ้านำไปทำถ่านจะให้พลังงานความร้อนสูงมาก)
  6. สร้างเรือนพักทาสจำนวน 4 หลัง มอบให้ 4 ครอบครัว คอยรับใช้พร้อมนางสนมกำนันบางส่วน
  7. สร้างโรงกลั่นสุรา และเรือนจำ
  8. จัดตั้งกรมการเมืองประกอบด้วยจตุสดมภ์ 4 ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา โดยแต่งตั้งคณะกรมการเมืองจากบุคคลสำคัญของเวียงจันทน์ คือ หลวงแพ่ง หลวงปราบ หลวงสิทธิ หลวงพรหม ท้าวคำสิงห์ หลวงสมบัติ หมื่นหาญ ขุนไชย ฯลฯ
  9. เมื่อถึงครบขวบปีต้องส่งเครื่องบรรณาการและเงิน 80 ชั่ง ไปบรรณาการต่อพระเจ้าแผ่นดินที่เมืองหลวง
เมืองพุทไธสง มีเจ้าเมืองผู้ปกครองต่อมาคือ พระเสนาสงครามที่ 2 (ท้าวนาบุตรพระยาเสนาสงครามคนที่ 2) ปกครองเมืองพุทไธสงคนที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2107 เป็นเวลานาน 37 ปี และพระเสนาสงครามที่ 3 (บุตรพระเสนาสงครามที่ 2) ปกครองเมืองพุทไธสงลำดับที่ 3 ตั้งแต่พ.ศ. 2407 ได้สิ้นสุดเมื่อปี พ.ศ. 2440 พระเสนาสงครามที่ 3 ปกครองเมืองพุทไธสงนาน 33 ปี

พุทไธสงยุคเข้าสู่ยุคการปกครองแบบปัจจุบัน[แก้]

ในช่วงการปกครองต่อจากเมืองพุทไธสง ซึ่งสยามประเทศสมัยกรุงธนบุรีได้มีการจัดตั้งการปกครองต่อจากกรุงศรีอยุธยาแบบจตุสดมภ์ที่มี เวียง วัง คลัง นา(คลังปัญญาไทย การปกครองที่สืบต่อมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. ๑๙๙๑ ช่วงอยุธยา ตอนกลางเป็นผู้ก่อตั้งและต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน ยุคการเริ่มต้นค้าขายและความสัมพันธ์กับต่างประเทศ) โดยแยกการทหารออกจากพลเรือน งานจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา ให้ถือเป็นฝ่ายพลเรือน โดยให้มีสมุหนายกเป็นผู้ปกครองและตรวจการณ์หัวเมืองฝ่ายเหนือปกครองทั้งทหารและพลเรือน สมุหกลาโหมเป็นผู้ปกครองและตรวจการณ์หัวเมืองฝ่ายใต้ปกครองทั้งทหารและพลเรือน ในปี พ.ศ. 2417 ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ยุคกรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ได้แบ่งหัวเมืองใหม่ออกเป็น 3 ประเภท คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นกลาง หัวเมืองชั้นนอก และได้จัดให้มีการปกครองแบบเดิม ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ให้ยกเลิกการปกครองแบบเดิมและจัดการปกครองแบใหม่ให้มีการประกาศจัดตั้งกระทรวงใหม่ขึ้น 12 กระทรวง โดยจัดสรรอำนาจให้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงการ ต่างประเทศ กระทรวง เกษตราธิการ กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงธรรมการ ฯลฯ บรรดาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ ให้อยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยทั้งหมด(การปรับปรุงการปกครองเข้าสู่สมัยใหม่เพื่อให้พ้นภัยคุกคามของยุคล่าอาณานิคม) การปกครองหัวเมืองอยู่ในอำนาจของกระทรวงมหาดไทยเป็นการรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลางได้เกิดมีปัญหาข้อบกพร่องหลายประการ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ให้ปรึกษา ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดำริให้จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และให้มีการจัดตั้งมณฑลต่างๆ ขึ้นและปรับปรุงเพิ่มเติมมาเรื่อยๆ รวม 10 มณฑลประกอบไปด้วย มณฑลมหาราษฎร์ มณฑลพิษณุโลก มณฑลนครสวรรค์ มณฑลเพชรบูรณ์ มณฑลนครราชสีมา มณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล มณฑลอุดร มณฑลชุมพร มณฑลภูเก็ต (มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ดเดิมชื่อมลทณฑลลาวเหนือ มณฑลนครราชสีมาเดิมชื่อ มณฑลลาวกลาง ได้เปลี่ยนชื่อมาใหม่ด้วยเหตุผลความมั่นคงทางการปกครองประเทศลดความแปลกแยกด้านชนชาติ)
เมืองพุทไธสง ได้ขึ้นการปกครองตรงต่อเทศาภิบาลเมืองแปะหรือบุรีรัมย์ในปัจจุบัน เมืองแปะขึ้นตรงต่อมลฑลนครราชสีมา (มณฑลถูกยกเลิกเมื่อ ปี พ.ศ. 2475 ช่วงคณะราษฎร์ยึดอำนาจการปกครอง) พระรังสรรค์สารกิจ (เลื่อน) ข้าหลวงประจำจังหวัดบุรีรัมย์ (พ.ศ. 2441 – 2444) ได้ให้สร้างเมืองพุทไธสงขึ้นใหม่ที่บริเวณที่ดินในคูเมืองในเขตเทศบาลตำบลพุทไธสงในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งเดิมนั้นเป็นป่ารกทึบมีสัตว์ป่า มีภูมิแข็ง มีไก่ป่า นกกระทา ชาวบ้านจะแตะต้องไม่ได้ถ้ามีใครแตะต้องจะต้องเป็นไข้ตาย ลงท้องตาย อาศัยพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินเบิกป่าจึงสามารถผ่าเหตุการณ์ไปได้สะดวกและสามารถสร้างเมืองใหม่ได้สำเร็จ ในเวลาต่อมาได้สร้างที่ว่าการอำเภอพุทไธสง บ้านพักนายอำเภอ บ้านพักปลัดอำเภอ บ้านพักข้าราชการ และพ่อค้า ประชาชนได้จับจองพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัย ทางราชการได้แต่งตั้งให้หลวงเจริญทิพยผลเป็นนายอำเภอปกครองพุทไธสงคนแรก ขึ้นกับเมืองบุรีรัมย์ เมืองพุทไธสงแต่แรกเริ่มจึงเป็นอำเภอพุทไธสงตั้งแต่นั้นมา โดยแบ่งเขตปกครองออกเป็น 9 ตำบลดังนี้
  1. ตำบลพุทไธสง
  2. ตำบลบ้านจาน
  3. ตำบลบ้านเป้า
  4. ตำบลหนองแวง
  5. ตำบลทองหลาง
  6. ตำบลบ้านดู่
  7. ตำบลบ้านคู
  8. ตำบลนาโพธิ์
  9. ตำบลมะเฟือง
เมื่อปี พ.ศ. 2524 ได้แบ่งตำบลนาโพธิ์ ตำบลบ้านคู ตำบลบ้านดู่ ออกเป็นอำเภอนาโพธิ์
เมื่อปี พ.ศ2535 ได้แบ่งตำบลหนองแวง ตำบลทองหลาง และพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านเป้า ออกเป็นอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
อำเภอพุทไธสง จึงเหลือพื้นที่เขตการปกครองอยู่เพียง 4 ตำบล พื้นที่ 330 ตารางกิโลเมตร และต่อมาได้แยกตำบลเพิ่มขึ้นอีก 3 ตำบล รวมเป็น 7 ตำบลในปัจจุบันดังนี้
  1. ตำบลพุทไธสง
  2. ตำบลบ้านแวง (แยกจากตำบลพุทไธสง)
  3. ตำบลมะเฟือง
  4. ตำบลบ้านยาง (แยกจากตำบลมะเฟือง)
  5. ตำบลบ้านจาน
  6. ตำบลหายโศก (แยกจากตำบลบ้านจาน)
  7. ตำบลบ้านเป้า ซึ่งมีพื้นที่บางส่วนแยกไปเป็นตำบลแดงใหญ่ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอพุทไธสงตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอพุทไธสงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 97 หมู่บ้าน
1.พุทไธสง(Phutthaisong)13 หมู่บ้าน
2.มะเฟือง(Mafueang)13 หมู่บ้าน
3.บ้านจาน(Ban Chan)13 หมู่บ้าน
4.บ้านเป้า(Ban Pao)12 หมู่บ้าน
5.บ้านแวง(Ban Waeng)13 หมู่บ้าน
6.บ้านยาง(Ban Yang)18 หมู่บ้าน
7.หายโศก(Hai Sok)15 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ใจกลางอำเภอพุทไธสง
ท้องที่อำเภอพุทไธสงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลพุทไธสง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพุทไธสง บางส่วนของตำบลมะเฟือง และบางส่วนของตำบลบ้านจาน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพุทไธสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพุทไธสง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพุทไธสง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะเฟือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะเฟือง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพุทไธสง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านจาน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพุทไธสง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเป้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเป้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหายโศก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหายโศกทั้งตำบล

อำเภอบ้านกรวด


อำเภอบ้านกรวด
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอบ้านกรวด
เมืองโลหกรรมลือเลี่อง เครื่องเคลือบโบราณ
ตำนานแหล่งหินตัด ทิวทิศน์ช่องโอบกงามตา
เขื่อนเมฆาเย็นสบาย ชายแดนพนมดงรัก
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทยอำเภอบ้านกรวด
อักษรโรมันAmphoe Ban Kruat
จังหวัดบุรีรัมย์
รหัสทางภูมิศาสตร์3108
รหัสไปรษณีย์31180
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่583.9 ตร.กม.
ประชากร76,512 คน (พ.ศ. 2558)
ความหนาแน่น131.03 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบ้านกรวด เลขที่ 54
หมู่ที่ 4 ถนนมะลิกรอง ตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ 31180
หมายเลขโทรศัพท์0 4467 9007
หมายเลขโทรสาร0 4467 9007

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
บ้านกรวด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาทางทิศใต้

ประวัติ[แก้]

เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 อำเภอบ้านกรวดเป็นอำเภอแรกในประเทศไทยที่มีการประกาศ "พื้นที่ประสบภัยพิบัติอันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ" ทั้งอำเภอ จากความขัดแย้งไทย-กัมพูชา

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบ้านกรวดตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบ้านกรวดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 115 หมู่บ้าน ได้แก่
1.บ้านกรวด(Ban Kruat)16 หมู่บ้าน6.หินลาด(Hin Lat)9 หมู่บ้าน
2.โนนเจริญ(Non Charoen)11 หมู่บ้าน7.บึงเจริญ(Bueng Charoen)13 หมู่บ้าน
3.หนองไม้งาม(Nong Mai Ngam)15 หมู่บ้าน8.จันทบเพชร(Chanthop Phet)12 หมู่บ้าน
4.ปราสาท(Prasat)13 หมู่บ้าน9.เขาดินเหนือ(Khao Din Nuea)10 หมู่บ้าน
5.สายตะกู(Sai Taku)16 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบ้านกรวดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

สถานที่[แก้]

  • พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด เปิดทำการวันแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร 144 หมู่ 4 ตำบลปราสาท สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด เก็บรวบรวมเครื่องเคลือบโบราณอายุมากกว่าหนึ่งพันปีที่ขุดพบในเขตอำเภอบ้านกรวด และจัดแสดงให้นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ประชาชนผู้สนใจได้เข้าชม และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของอำเภอบ้านกรวด ซึ่งในอดีตอำเภอบ้านกรวดเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบโบราณที่ใหญ่ที่สุดของอาณาจักรขอม

ประเพณี[แก้]

  • งานเครื่องเคลือบพันปี ประเพณีบ้านกรวด จัดขึ้นในต้นเดือนเมษายนของทุกปี ที่สนามหน้าอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในงานมีนิทรรศการเครื่องเคลือบโบราณ การประกวดเครื่องเคลือบจำลอง การแสดงวัฒนธรรม ท้องถิ่นไทย-กัมพูชา การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน