วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วนอุทยานเขากระโดง

    วนอุทยานเขากระโดง ชื่อเดิมชาวบ้านเรียกเขากระโดงว่า "พนมกระดอง" เป็นภาษาเขมร แปลว่า "ภูเขากระดอง (เต่า)" เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายกระดองเต่า ต่อมา จึงเรียกเพี้ยนเป็น "กระโดง" ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นปากปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เฉกเช่นเดียวกับปากปล่องภูเขาไฟที่อื่นๆในจังหวัดบุรีรัมย์ อาทิเช่น ปากปล่องภูเขาไฟที่เขาพนมรุ้ง ปากปล่องภูเขาไฟที่เขาอังคาร โดยบริเวณใกล้เคียงกับวนอุทยานเขากระโดงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงมาก คือ สนามฟุตบอล นิว ไอโมบาย สเตเดี้ยม ของทีมสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (Buriram united, Buriram UTD) ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวของวนอุทยานเขากระโดง มีดังนี้
                   วนอุทยานเขากระโดง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟโบราณซึ่งยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน มีลักษณะเป็นแอ่งลึกสามารถเดินชมศึกษาหินภูเขาไฟ ยอดสูงสุดประมาณ ๒๖๕ เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นที่ประดิษฐาน "พระสุภัทรบพิตร" พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ มีปรางค์กู่โบราณ ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง และสะพานแขวนซึ่งสามารถชมทัศนียภาพบริเวณปากปล่องภูเขาไฟได้ นอกจากนี้วนอุทยานยังมีพันธุ์ไม้พื้นเมืองน่าศึกษาหลายชนิดตัวอย่างเช่น ผลของต้นโยนีปีศาจ พันธุ์ไม้หายากที่มักพบในบริเวณเขตภูเขาไฟ
                    การขึ้นไปยังเขากระโดงสามารถทำได้สองวิธี คือ เดินขึ้นบันได ๒๙๗ ขั้น หรือ ขับรถขึ้นไปถึงยอดเขา ระหว่างทางจะพบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ ปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดง ปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดง อยู่ในเขตบ้านเขากระโดง (คุ้มบ้านซับน้ำซับ) ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอายุประมาณ 3 แสนถึง 9 แสนปี สูงจากระดับน้ำทะเล 265 เมตร ซากปากปล่องเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก ยอดเนินเขาเป็นขอบปล่องด้านทิศใต้เรียกว่า เขาใหญ่ ส่วนยอดเนินเป็นขอบปล่องด้านทิศเหนือเรียกว่า เขาน้อย หรือเขากระโดง ส่วนบริเวณที่เป็นขอบปล่องปะทุคือ บริเวณที่เป็นหุบเขา ปัจจุบันมีสภาพเป็นสระน้ำ เป็นซากภูเขาไฟที่ยังคงสภาพดีและมีอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย่ ในปัจจุบันบริเวณตรงปากปล่องมีลักษณะเป็นหลุมลึก ทางเดินเท้าก่อด้วยหินและมีระเบียงไม้ชมวิว สะพานพิสูจน์ศรัทธาสาธุชน (บันไดนาคราช) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ขึ้นบันไดไปสักการะบูชาพระสุภัทรบพิตร ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขากระโดง จำนวน 297 ขั้น ชมการละเล่นพื้นบ้านในงานประเพณีขึ้นเขากระโดง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และร่วมทำบูญงานประกวดกวนข้าวทิพย์–ตักบาตรรเทโวโรหณะ ในช่วงก่อนวันออกพรรษาและวันออกพรรษาของทุกปี
                       การเดินทางสู่ภูเขาไฟกระโดง : จากตัวเมืองบุรีรัมย์ใช้ทางหลวงหมายเลข 219 บนเส้นทางสาย บุรีรัมย์-ประโคนชัย ประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะพบกับวนอุทยานภูเขาไฟเขากระโดง



 







































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น