วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วนอุทยานเขากระโดง

    วนอุทยานเขากระโดง ชื่อเดิมชาวบ้านเรียกเขากระโดงว่า "พนมกระดอง" เป็นภาษาเขมร แปลว่า "ภูเขากระดอง (เต่า)" เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายกระดองเต่า ต่อมา จึงเรียกเพี้ยนเป็น "กระโดง" ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นปากปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เฉกเช่นเดียวกับปากปล่องภูเขาไฟที่อื่นๆในจังหวัดบุรีรัมย์ อาทิเช่น ปากปล่องภูเขาไฟที่เขาพนมรุ้ง ปากปล่องภูเขาไฟที่เขาอังคาร โดยบริเวณใกล้เคียงกับวนอุทยานเขากระโดงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงมาก คือ สนามฟุตบอล นิว ไอโมบาย สเตเดี้ยม ของทีมสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (Buriram united, Buriram UTD) ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวของวนอุทยานเขากระโดง มีดังนี้
                   วนอุทยานเขากระโดง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟโบราณซึ่งยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน มีลักษณะเป็นแอ่งลึกสามารถเดินชมศึกษาหินภูเขาไฟ ยอดสูงสุดประมาณ ๒๖๕ เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นที่ประดิษฐาน "พระสุภัทรบพิตร" พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ มีปรางค์กู่โบราณ ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง และสะพานแขวนซึ่งสามารถชมทัศนียภาพบริเวณปากปล่องภูเขาไฟได้ นอกจากนี้วนอุทยานยังมีพันธุ์ไม้พื้นเมืองน่าศึกษาหลายชนิดตัวอย่างเช่น ผลของต้นโยนีปีศาจ พันธุ์ไม้หายากที่มักพบในบริเวณเขตภูเขาไฟ
                    การขึ้นไปยังเขากระโดงสามารถทำได้สองวิธี คือ เดินขึ้นบันได ๒๙๗ ขั้น หรือ ขับรถขึ้นไปถึงยอดเขา ระหว่างทางจะพบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ ปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดง ปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดง อยู่ในเขตบ้านเขากระโดง (คุ้มบ้านซับน้ำซับ) ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอายุประมาณ 3 แสนถึง 9 แสนปี สูงจากระดับน้ำทะเล 265 เมตร ซากปากปล่องเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก ยอดเนินเขาเป็นขอบปล่องด้านทิศใต้เรียกว่า เขาใหญ่ ส่วนยอดเนินเป็นขอบปล่องด้านทิศเหนือเรียกว่า เขาน้อย หรือเขากระโดง ส่วนบริเวณที่เป็นขอบปล่องปะทุคือ บริเวณที่เป็นหุบเขา ปัจจุบันมีสภาพเป็นสระน้ำ เป็นซากภูเขาไฟที่ยังคงสภาพดีและมีอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย่ ในปัจจุบันบริเวณตรงปากปล่องมีลักษณะเป็นหลุมลึก ทางเดินเท้าก่อด้วยหินและมีระเบียงไม้ชมวิว สะพานพิสูจน์ศรัทธาสาธุชน (บันไดนาคราช) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ขึ้นบันไดไปสักการะบูชาพระสุภัทรบพิตร ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขากระโดง จำนวน 297 ขั้น ชมการละเล่นพื้นบ้านในงานประเพณีขึ้นเขากระโดง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และร่วมทำบูญงานประกวดกวนข้าวทิพย์–ตักบาตรรเทโวโรหณะ ในช่วงก่อนวันออกพรรษาและวันออกพรรษาของทุกปี
                       การเดินทางสู่ภูเขาไฟกระโดง : จากตัวเมืองบุรีรัมย์ใช้ทางหลวงหมายเลข 219 บนเส้นทางสาย บุรีรัมย์-ประโคนชัย ประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะพบกับวนอุทยานภูเขาไฟเขากระโดง



 







































วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สนามไอโมบายสเตเดียม

          สนามไอ-โมบาย สเตเดียม
 เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ของ ไทยพรีเมียร์ลีก
ที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
เปิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เจ้าของ สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ผู้ดำเนินการ สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ความจุ 33,000 ที่นั่ง
สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไอ-โมบาย สเตเดียม หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม (New i-Mobile Stadium, Buriram Stadium) เป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ของ ไทยพรีเมียร์ลีก ตั้งอยู่ที่ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สนามแห่งนี้มีความจุ 24,000 ที่นั่ง โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนของไอ-โมบาย และบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบ และจัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มี ลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานฟีฟ่า, เอเอฟซี และเอเอฟเอฟ และยังผ่านมาตรฐานระดับเอคลาสสเตเดียมจากเอเอฟซี และยังผ่านมาตรฐานระดับเวิลด์คลาสจากฟีฟ่า และยังได้บันทึกลงกินเนสบุค ว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าแห่งเดียวในโลกที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุด ในโลกคือ 256 วัน [18] สนามนี้มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยชั้นที่ 1 เป็นสำนักงานห้องแถลงข่าว, ห้องสื่อมวลชน, ร้านขายสินค้าที่ระลึก, ห้องนักกีฬาทีมเหย้า-เยือน, ห้องพักผู้ตัดสิน, ห้องปฐมพยาบาล และห้องประชุม ชั้นที่ 2 จะเป็นห้องจัดเลี้ยงใหญ่จำนวน 400 ที่ นั่ง ชั้นที่ 3 เป็น ห้องวีไอพี 6 ห้อง และ ห้องจัดเลี้ยง 1 ห้อง และชั้นที่ 4 มี ห้องวีไอพีจำนวน 15 ห้อง สนามแห่งนี้ยังมีการติดตั้งไฟส่องสว่างของฟิลิปส์อย่างมาตรฐานจะมีความสว่าง ของไฟอยู่ที่ 1,500 ลักซ์ โดยในส่วนอัฒจรรย์ฝั่งกองเชียร์นั้นมีเก้าอี้ที่นั่งเชียร์เป็นสีน้ำเงิน เกือบหมดแต่จะใช้เก้าอี้สีขาวตรงที่มีคำว่า ธันเดอร์คาสเซิล และ บุรีรัมย์ มีหัวหน้ากองเชียร์คือ นางกรุณา ชิดชอบ เป็นแกนนำหลักในการเชียร์ สนาม ไอ-โมบาย สเตเดียม เคยใช้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมรื่นเริงครั้งใหญ่ในเทศกาลสงกรานต์ ในปี พ.ศ. 2555 โดยการจัดของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร โดยมีศิลปินนักร้องมากมาย อาทิ โซะระ อะโอะอิ, เอ็นเอส ยุน จีน, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, นูโว, ไมโคร, ปกรณ์ ลัม, บอดี้แสลม, คาราบาว, ลาบานูน, บิ๊กแอส, โลโซ เป็นต้น เขากระโดง สเตเดี้ยม ที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย เปิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2553 เจ้าของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ดำเนินการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ความจุ 15,000 ที่นั่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
เขากระโดง สเตเดี้ยม เป็นสนามเหย้าเดิมของ สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ของไทยพรีเมียร์ลีก มีความจุทั้งหมด 15,000 ที่นั่ง สนามนี้เคยเป็นสนามของ อบจ. และถูกปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเพื่อใช้รองรับการใช้งานไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2553 ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์-การไฟฟ้า โดยย้ายไปสนามแห่งใหม่ของตัวเองซึ่งมีความจุ 25,000 คน คือ สนาม นิว ไอ-โมบาย สเตเดี้ยม และเปิดรันเวย์สนามบินใช้เฉพาะข่นนักเตะฟุตบอลเท่านั้น ซึ่งคาดว่าจะเปิดใช้งานได้อย่างเป็นทางการในปี 2555 และปัจจุบันก็ได้โอนสนามให้เป็นของ อบจ.บุรีรัมย์เหมือนเดิมและบริเวณที่ว่างข้างสนามได้สร้างศาลากลางศูนย์ ราชการจังหวัดบุรีรัมย์แห่งใหม่ โดยมีสนามนี้อยู่ในบริเวณนั้นด้วย










































วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดบุรีรัมย์

บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น
เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของ
นักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร ์สมัยทราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไป
ในจังหวัดบุรีรัมย์มากคือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง
รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือเตาเผา ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร
ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 อยู่ทั่วไปหลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ
แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้น
ของเมืองนครราชสีมาและปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ.2476
ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์
ไม่ปรากฎในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรีเฉพาะชื่อเมืองอื่น ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่
เมืองนางรองเมืองพุทไธสง และเมืองประโคนชัย พ.ศ. 2319 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี
กรมการเมืองนครราชสีมา มีใบยอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์
จึงโปรดให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงคำแหน่ง เจ้าพระยาจักรี
เป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองประหารชีวิตและสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท)
คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมือง จำปาศักดิ์ เมืองโขง และเมืองอัตปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ เจ้าอิน อุปฮาด
เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง ตะลุบ สุรินทร์ สังขะ และเมืองขุขันธ์
รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขตขอมร้า เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง)ให้เป็นเจ้าเมือง
ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยานครภักดี ประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือต้นราชการ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะเป็นบุรีรัมย์ด้วยปรากฎว่า ได้มีการแต่งตั้ง
พระสำแดงฤทธิรงค์เป็นพระนครภักดีศรีนครา ผู้สำเร็จราชการเมืองบุรีรัมย์ ขึ้นเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. 2411
เมืองบุรีรัมย์และเมืองนางรองผลัดกันมีความสำคัญเรื่อยมา พ.ศ. 2433 เมืองบุรีรัมย์โอนขึ้นไปขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ
มีหนองคายเป็นศูนย์กลาง และเมืองบุรีรัมย์มีเมืองในสังกัด 1 แห่ง คือเมืองนางรอง ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2440-2441
เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า"บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง
รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ มณฑลลาวเฉียงเป็น มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ
มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลเขมร เป็นมณฑลตะวันออกและในคราวนี้
เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง"มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์
แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์"
และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคมพ.ศ. 2444 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมาประกอบด้วย 3 เมือง 17 อำเภอ
คือเมืองนครราชสีมา 10 อำเภอ เมืองชัยภูมิ 3 อำเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อำเภอ คือ นางรอง พุทไธสง ประโคนชัย และรัตนบุรี
ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา
จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็น "จังหวัดบุรีรัมย์" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

1. ตราประจำจังหวัดบุรีรัมย์
เป็นรูปปราสาทเขาพนมรุ้งมีกำแพงล้อมรอบ ภายในเป็นท้องพระโรง มีเทวสถาน
และรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานอยู่บนยอดเขาแห่งนี้ด้วยภาพเทวดาร่ายรำ
หมายถึงดินแดนแห่งเทพเจ้าผู้สร้าง ผู้ปราบยุคเข็ญ และผู้ประสาทสุข
ท่่าร่ายรำ หมายถึงความสำราญชื่นชมยินดี ซึ่งตรงกับการออกเสียงพยางค์สุดท้ายของเชื่อจังหวัด






2. ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ดอกสุพรรณิการ์ หรือ ดอกฝ้ายคำ








3. ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ต้นแป๊ะ









4. ต้นไม้มงคลพระราชทาน ได้แก่ ต้นกาฬพฤกษ์